คลังความรู้

หัวใจล้มเหลว Heart failure (HF)

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

Heart failure


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยอาจเกิดจากมีความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ

ชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถแบ่งได้หลายชนิด แต่หากใช้การแบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure) เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง (chronic heart failure) พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวและ/หรือมีการทำงานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน


การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

แบบประเมินอาการภาวะหัวใจล้มเหลว

อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว


หายใจไม่เต็มอิ่ม

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุของน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจทำให้มีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอกเมื่อทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน หรือขึ้นบันได

เหนื่อยอ่อน

ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้เลือดมีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายลดลง แต่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายยังคงต้องการออกซิเจนเพื่อเป็นพลังงาน จึงทำให้ผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวรู้สึกเหนื่อยอ่อนได้ง่าย


เบื่ออาหาร

การคั่งของของเหลวในทางเดินอาหารอาจส่งผลต่อการย่อยอาหารและอาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกเบื่ออาหาร หรือไม่สบายเมื่อรับประทานอาหาร

น้ำหนักเพิ่มขึ้นรวดเร็ว

ภาวะหัวใจล้มเหลวที่ทรุดหนักลง อาจมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 กิโลกรัม ใน 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีการสะสมของเหลวในร่างกาย

หัวใจเต้นเร็ว

บางครั้งหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเพื่อชดเชยความสามารถในการสูบฉีดเลือดให้ไปเลี้ยงทั่วร่างกายอย่างพอเพียง

ความถี่ในการปัสสาวะ

การที่มีเลือดไปเลี้ยงไตลดลงจากภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นสาเหตุที่ทำให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง แต่หากได้รับยาขับปัสสาวะ (เช่น water pill) คุณอาจปัสสาวะบ่อยขึ้นเพื่อขับของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย

อาการบวมของข้อเท้า ขาและท้อง

เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่ใส่อาจคับขึ้น จากอาการบวมเนื่องจากมีของเหลวคั่งที่บริเวณขา ข้อเท้า หรือช่องท้อง

หายใจไม่เต็มอิ่มเมื่อนอนราบ

การนอนราบอาจยิ่งทำให้คุณรู้สึกหายใจลำบาก จึงจำเป็นต้องนอนในท่านั่งหรือหนุนศีรษะให้สูงขึ้นด้วยหมอนหลายๆ ใบ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น